สถิติ
เปิดเมื่อ3/06/2013
อัพเดท27/01/2014
ผู้เข้าชม78016
แสดงหน้า88389
เมนู
บทความ
y
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ส่งงานวิชาการพัฒนางานคุณภาพ ปวส 1 ปวส 2

ส่งงานวิชาการพัฒนางานคุณภาพ ปวส 1 ปวส 2
อ้างอิง อ่าน 2693 ครั้ง / ตอบ 46 ครั้ง

prabpramna
ให้ส่งงานตามหัวข้อที่กำหนด ก่อนวันที่ 18 พย 56

1-5      กิจกรรม 5 ส
6-10   ระบบมาตรฐาน ISO 9000:2000
11-15 วงจรเดมมิ่ง PDCA
16-20  หลักการและกระบวนการเพิ่มผลผลิต
21-25 ความหมายและความสำคัญของระบบบริหารงานคุณภาพ
 
prabpramna [email protected] [202.29.231.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
31
อ้างอิง
 
*
  • กระทู้: 173
    • ดูรายละเอียด
บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2011, 08:03:34 pm »
 
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความ สามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็น นัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิด ว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็น ต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความ ต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับ ข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหาร ขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
   

 
6
 
 
ณรงค์ วนกิ่ง [202.29.231.xxx] เมื่อ 27/01/2014 12:38
32
อ้างอิง

จักรพันธ์
5 ส คืออะไร?
 


5 ส คือการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการ และงานของตนด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้วิธี สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

5 ส มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

1. Seiri (เซริ) = สะสาง (ทำให้เป็นระเบียบ) คือการแยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้องขจัดทิ้งไป กล่าวกันว่า การเพิ่มประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจาก สะสาง

2. Seition (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบฉวยใช้งานได้ทันที กล่าวกันว่า ให้ใช้หลัก “สะดวก” นี้ เพื่อกำจัดความสูญเปล่าของเวลาในการ “ค้นหา” สิ่งของ

3. Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือ การปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีเศษขยะ ไม่ให้สกปรกเลอะเทอะ “สะอาด” คือพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ

4. Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป ก้าวแรกของความปลอดภัยเริ่มจากการรักษาความสะอาด หรือ “สุขลักษณะ” นี่เอง

5. Shitsuke (ชิทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ 4 ส หรือสิ่งที่กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

 
วิธีการทำกิจกรรม 5 ส มีหลักสำคัญ ดังนี้

1.การเริ่มต้นทำ 5 ส

(1) รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการจัดให้มีการบรรยาย อภิปราย ทำความเข้าใจและปรับแนวความคิดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(2) วางกิจกรรม 5 ส ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับปรุงสถานที่ทำงาน โดยนำเอาวิธีการ 5 ส ที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าไปช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น

     - ขจัดอุบัติเหตุให้หมดสิ้น

     - ขจัดของเคลม (Claim) ให้หมดสิ้น

     - ขจัดปัญหาคุณภาพไม่ดีที่เป็นปัญหาเรื้อรัง

     - เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์

     - ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์

     - ลดจำนวนสต๊อกจำนวนสินค้าระหว่างผลิต

     - ลดเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องให้น้อยลง เป็นต้น

(3) กำหนดทำกิจกรรมเรียงตามลำดับแต่ละ “ส” โดย

     - เริ่มจากการขจัดของที่ไม่ต้องการออก และทำความสะอาด (พื้น) ก่อน

     - เริ่มทำในหน่วยตัวอย่างเล็กๆ ของแต่ละแผนกก่อน แล้วค่อยขยายขอบข่ายให้กว้างออกไป

     - เริ่มทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มในสำนักงาน และในบริเวณโต๊ะทำงานของหัวหน้าในโรงงาน

(4) ให้ผู้บริหารทำการตรวจเช็ค เพื่อรับรู้สถานะที่แท้จริงของการดำเนินกิจกรรม 5 ส ด้วยตนเอง

(5) ใช้วิธีถ่ายรูปไว้ ทั้งก่อนลงมือทำและหลังทำกิจกรรม 5 ส ในหน่วยที่ปฏิบัติ และให้มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับรูปถ่ายนั้นไว้ เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการปรับปรุงได้

(6) ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยสมาชิกของแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ดำเนินงานและให้กลุ่มจัดการประชุมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดหัวข้อ และรายละเอียดการดำเนินงาน นอกจากนี้ให้มีการกำหนดหัวข้อรับผิดชอบที่แยกย่อยลงไปอีก เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

(7) การวัดผล ในการทำกิจกรรม 5 ส นั้น ควรจะได้มีการวัดผลออกมาด้วย จะทำให้มีคุณค่ามากขึ้น เช่น การขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกนั้น มีแนวคิดดังนี้

     - เอกสารที่ไม่ต้องการนั้น หนักเท่าใด หรือกี่ตู้เอกสาร

     - ลองแปลงเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่าย เช่น จะเป็นเศษวัตถุดิบกี่ตัน เป็นจำนวนเงินกี่แสนบาท

2. การคงรักษากิจกรรมและขยายงานกิจกรรม 5 ส

มีหลักสำคัญดังนี้

(1) มีการกำหนดหัวข้อสำคัญที่จะดำเนินการในแต่ละเดือน เช่น การขจัดของที่ไม่ต้องการ การเช็ดถูทำความสะอาด ฯลฯ

(2) การดำเนินงานให้ดำเนินการโดยบุคคลที่อยู่ในสายงานของตนเสมอ

(3) หัวหน้างานมีความตั้งใจจริงและมีความกระตือรือร้นโดยหัวหน้าเป็นผู้นำ และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) มีการตรวจเช็คและการประเมินผล ทั้งโดยผู้จัดการโรงงานและหัวหน้าหน่วย เพื่อทราบจุดบกพร่อง และการบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น

(5) มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน คือ ควรทำการรวบรวมกฎเกณฑ์ การเตรียมงานขั้นต้นไว้แล้ว กำหนดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานในโรงงาน โดยทำไว้ตั้งแต่ระยะต้นๆ แล้วให้มีการปรับปรุงไปสู่การตรวจเช็คภายในสถานที่ทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด

(6) สนับสนุนให้ดำเนินการปรับปรุง โดยมุ่งเน้นว่างานปรับปรุงที่สามารถทำเองได้ จะต้องให้พนักงานในหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการเอง

(7) แจ้งข้อคิดเห็นให้ทราบทั่วกัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยจัดให้มีการประชุมเป็นประจำรายสัปดาห์ หรือเดือนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ควรจัดประชุมในสถานที่ทำงานของแต่ละหน่วยจะดีกว่าจัดในที่ประชุมและมีการติดป้ายแสดงให้ทราบทั่วกัน

(8) ให้พิจารณาลึกเข้าไปถึงสถานที่เป็นปัญหา เพื่อพบว่าจุดไหนที่มีปัญหาก็ต้องรีบแก้ไขให้กลับสู่สภาพที่ดี สำหรับบางจุดอาจจะมีปัญหาเรื้อรังยากต่อการปฏิบัตินั้น จะต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

(9) ให้คืบหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดเล็กๆ คือ ในบางหัวข้อที่มีความสำคัญให้ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ก้าวคืบหน้าต่อไปจนถึงจุดเล็กๆ

 

 
 
จักรพันธ์ [202.29.231.xxx] เมื่อ 27/01/2014 12:43
33
อ้างอิง
5 ส คืออะไร?
 


5 ส คือการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการ และงานของตนด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้วิธี สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

5 ส มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

1. Seiri (เซริ) = สะสาง (ทำให้เป็นระเบียบ) คือการแยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้องขจัดทิ้งไป กล่าวกันว่า การเพิ่มประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจาก สะสาง

2. Seition (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบฉวยใช้งานได้ทันที กล่าวกันว่า ให้ใช้หลัก “สะดวก” นี้ เพื่อกำจัดความสูญเปล่าของเวลาในการ “ค้นหา” สิ่งของ

3. Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือ การปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีเศษขยะ ไม่ให้สกปรกเลอะเทอะ “สะอาด” คือพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ

4. Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป ก้าวแรกของความปลอดภัยเริ่มจากการรักษาความสะอาด หรือ “สุขลักษณะ” นี่เอง

5. Shitsuke (ชิทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ 4 ส หรือสิ่งที่กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

 
วิธีการทำกิจกรรม 5 ส มีหลักสำคัญ ดังนี้

1.การเริ่มต้นทำ 5 ส

(1) รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการจัดให้มีการบรรยาย อภิปราย ทำความเข้าใจและปรับแนวความคิดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(2) วางกิจกรรม 5 ส ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับปรุงสถานที่ทำงาน โดยนำเอาวิธีการ 5 ส ที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าไปช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น

     - ขจัดอุบัติเหตุให้หมดสิ้น

     - ขจัดของเคลม (Claim) ให้หมดสิ้น

     - ขจัดปัญหาคุณภาพไม่ดีที่เป็นปัญหาเรื้อรัง

     - เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์

     - ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์

     - ลดจำนวนสต๊อกจำนวนสินค้าระหว่างผลิต

     - ลดเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องให้น้อยลง เป็นต้น

(3) กำหนดทำกิจกรรมเรียงตามลำดับแต่ละ “ส” โดย

     - เริ่มจากการขจัดของที่ไม่ต้องการออก และทำความสะอาด (พื้น) ก่อน

     - เริ่มทำในหน่วยตัวอย่างเล็กๆ ของแต่ละแผนกก่อน แล้วค่อยขยายขอบข่ายให้กว้างออกไป

     - เริ่มทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มในสำนักงาน และในบริเวณโต๊ะทำงานของหัวหน้าในโรงงาน

(4) ให้ผู้บริหารทำการตรวจเช็ค เพื่อรับรู้สถานะที่แท้จริงของการดำเนินกิจกรรม 5 ส ด้วยตนเอง

(5) ใช้วิธีถ่ายรูปไว้ ทั้งก่อนลงมือทำและหลังทำกิจกรรม 5 ส ในหน่วยที่ปฏิบัติ และให้มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับรูปถ่ายนั้นไว้ เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการปรับปรุงได้

(6) ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยสมาชิกของแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ดำเนินงานและให้กลุ่มจัดการประชุมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดหัวข้อ และรายละเอียดการดำเนินงาน นอกจากนี้ให้มีการกำหนดหัวข้อรับผิดชอบที่แยกย่อยลงไปอีก เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

(7) การวัดผล ในการทำกิจกรรม 5 ส นั้น ควรจะได้มีการวัดผลออกมาด้วย จะทำให้มีคุณค่ามากขึ้น เช่น การขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกนั้น มีแนวคิดดังนี้

     - เอกสารที่ไม่ต้องการนั้น หนักเท่าใด หรือกี่ตู้เอกสาร

     - ลองแปลงเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่าย เช่น จะเป็นเศษวัตถุดิบกี่ตัน เป็นจำนวนเงินกี่แสนบาท

2. การคงรักษากิจกรรมและขยายงานกิจกรรม 5 ส

มีหลักสำคัญดังนี้

(1) มีการกำหนดหัวข้อสำคัญที่จะดำเนินการในแต่ละเดือน เช่น การขจัดของที่ไม่ต้องการ การเช็ดถูทำความสะอาด ฯลฯ

(2) การดำเนินงานให้ดำเนินการโดยบุคคลที่อยู่ในสายงานของตนเสมอ

(3) หัวหน้างานมีความตั้งใจจริงและมีความกระตือรือร้นโดยหัวหน้าเป็นผู้นำ และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) มีการตรวจเช็คและการประเมินผล ทั้งโดยผู้จัดการโรงงานและหัวหน้าหน่วย เพื่อทราบจุดบกพร่อง และการบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น

(5) มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน คือ ควรทำการรวบรวมกฎเกณฑ์ การเตรียมงานขั้นต้นไว้แล้ว กำหนดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานในโรงงาน โดยทำไว้ตั้งแต่ระยะต้นๆ แล้วให้มีการปรับปรุงไปสู่การตรวจเช็คภายในสถานที่ทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด

(6) สนับสนุนให้ดำเนินการปรับปรุง โดยมุ่งเน้นว่างานปรับปรุงที่สามารถทำเองได้ จะต้องให้พนักงานในหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการเอง

(7) แจ้งข้อคิดเห็นให้ทราบทั่วกัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยจัดให้มีการประชุมเป็นประจำรายสัปดาห์ หรือเดือนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ควรจัดประชุมในสถานที่ทำงานของแต่ละหน่วยจะดีกว่าจัดในที่ประชุมและมีการติดป้ายแสดงให้ทราบทั่วกัน

(8) ให้พิจารณาลึกเข้าไปถึงสถานที่เป็นปัญหา เพื่อพบว่าจุดไหนที่มีปัญหาก็ต้องรีบแก้ไขให้กลับสู่สภาพที่ดี สำหรับบางจุดอาจจะมีปัญหาเรื้อรังยากต่อการปฏิบัตินั้น จะต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

(9) ให้คืบหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดเล็กๆ คือ ในบางหัวข้อที่มีความสำคัญให้ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ก้าวคืบหน้าต่อไปจนถึงจุดเล็กๆ

 

 
 
จักรพันธ์ [202.29.231.xxx] เมื่อ 27/01/2014 12:49
34
อ้างอิง

การเพิ่มผลผลิตโดยหลักการ  3T   4  Zero   5R  และ 6  Steps

การเพิ่มผลผลิตโดยหลักการ  3T   คือ  การค้นหาเวลาที่สูญเปล่าในกระบวนการผลิตและกำจัดเวลาที่เสียโดยไม่ได้ผลผลิตให้ออกไปจากการผลิต   ในการนี้ต้องเข้าใจว่า   T             ย่อมาจาก  Time   ซึ่งมี   3  อย่างคือ  
T1     เวลาที่ใช้ในการผลิตจริง
T2     เวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ไม่ได้ผลผลิต
T3     เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ

T1     เวลาที่ใช้ในการผลิตจริง   คือ  เวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการจริง ๆ  ที่ไม่เสียเวลาอะไรเลย   ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ  ก็ตาม
T2     เวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ไม่ได้ผลผลิต   คือ   เวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต    แต่ไม่ได้ผลผลิตเพิ่มหรือไม่เกิดผลผลิตแต่อย่างไร   ถือเป็นส่วนงานที่เกิน   ซึ่งส่วนงานเกินเกิดขึ้นตามธรรมชาติของกระบวนการทำงาน หรือกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นทั่ว ๆ  ไป   ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก
1.  การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน    มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน    ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องเสียเวลามาก   หรือผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับระบบการผลิต    ทำให้ต้องเสียเวลาในการปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
2.  วิธีการทำงาน   คือ  การทำงานที่ไม่สอดคล้องกับการผลิต   หรือวิธีการทำงานที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับร่างกายของคน  เช่น   วิธีการทำที่ต้องให้คนงานเอี้ยวตัวไปข้างหลังเพื่อหยิบชิ้นส่วนมาประกอบ    เมื่อทำทุก ๆ วัน   ก็ย่อมที่จะต้องปวดเมื่อยเป็นธรรมดา    และทำให้เสียเวลาในการเอี้ยวตัวไปข้างหลังเพื่อหยับชิ้นส่วนเป็นต้น

T3     เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ    คือ  เวลาที่คนงานไม่ทำอะไรและไม่เกิดผลผลิตใด ๆ  เลย  มีการรบกวนในขณะที่ทำงาน   ทำให้ต้องหยุดการทำงาน    ทำให้เกิดเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้ผลผลิต  เป็นเวลาไร้ประสิทธิภาพ    ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก
1.  ความบกพร่องของฝ่ายจัดการ    เช่น   แผนกพัสดุอาจจะสั่งวัตถุดิบล่าช้าไม่ทันต่อการผลิต   เป็นต้น 
2.  ความบกพร่องของฝ่ายแรงงาน   เช่น   พิจารณาได้จากการหยุด    หลบ   เลี่ยง  รอ  หลีก  ของคนงาน 
ในการผลิตใด ๆ   ก็ตามจะมีองค์ประกอบของเวลา  3T   ทั้งสิ้น   ดังนั้นหลักการใช้ 3T    ในการเพิ่มผลผลิตคือ    การค้นหา  T2   และ   T3   เพื่อที่จะได้กำจัดทิ้งไป   และให้เหลือแต่  T1   เพียงอย่างเดียว    เพราะเมื่อหา  T2   ได้ก็สามารถลดเวลาส่วนเกินได้ไม่ยาก    แล้วจะพบว่าการทำงานที่ไม่ได้งานในแต่ละวันเป็นสัดส่วนที่สูงพอสมควร     ซึ่งถ้าหากมีวิธีจะกำจัดให้หมดไปจะเป็นการดีต่อองค์การ   ในการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น    ส่วน  T3     สามารถพิจารณาได้จากการหยุด  หลบ เลี่ยง รอ  หลีก   ถ้าค้นพบเวลาไร้ประสิทธิภาพและขจัดออกไปก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ดียิ่งขึ้น  

การเพิ่มผลผลิต

 

1.1 ความหมายของการเพิ่มผลผลิตและอัตราผลผลิต

                การเพิ่มผลผลิต หมายถึง การเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่อัตราผลผลิต (Productiveity) จะแตกต่างจากคำว่า ผลผลิต (Product หรือ Production Output) และการผลิต (Production) ดังนั้น คำทั้งสามคำนี้จึงมีความหมายที่ต่างกัน

                ผลผลิต คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือบริการ

                การผลิต คือ กระบวนการทำงานในการผลิตหรือบริการ

                อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนของหน่วยผลผลิตต่อหน่วยกำลังหรือวัสดุที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณหน่วยที่ผลิตได้ต่อหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตนั้นๆ ทรัพยากรที่ใช้รวมถึงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงาน

 

  อัตราผลผลิต (Productiveity)  =   ผลผลิตที่ได้ (Output) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

                ผลผลิตที่ได้ หมายถึง ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต มิใช่ปริมาณการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมและเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่คุณภาพของผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

 

1.2 ประเภทของอัตราผลผลิต

                ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทอัตราผลผลิตเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                1. อัตราผลผลิตย่อย (Partial Productivity) อัตราผลผลิตย่อยเป็นอัตราส่วนของผลผลิตต่อทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละชนิด เช่น อัตราผลผลิตด้านแรงงาน (Labor Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อยด้านแรงงาน อัตราผลผลิตด้านเงินทุน (Capital Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อด้านเงินทุน อัตราผลผลิตด้านวัสดุ (Material Productivity) อัตราผลผลิตด้านพลังงาน (Energy Productivity) อัตราผลผลิตด้านสิ้นเปลือง ( Expense Productivity)

                2. อัตราผลผลิตรวม (Total Productivity) อัตราผลผลิตรวมเป็นอัตราส่วนของผลผลิตทั้งหมดต่อทรัพยากรที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นอัตราผลผลิตรวมจึงแสดงผลกระทบร่วมของทรัพยากรทั้งหมดในการทำผลผลิตออกมา

               3. อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity) อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราส่วนของผลผลิตสุทธิต่อผลรวมของทรัพยากร หรือปัจจัยด้านแรงงานและเงินทุน ผลผลิตสุทธิ หมายถึง ผลผลิตรวมหักออกด้วยสินค้าและบริการระหว่างกระบวนการที่ซื้อ (ตัวส่วนของอัตราส่วนนี้ประกอบด้วยปัจจัยแรงงานและทุนเท่านั้น)

                ในความหมายของอัตราการผลิตทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่ว่าผลผลิตหรือทรัพยากรที่ใช้ (Output & Input) จะใช้คำที่จะเกิดขึ้นจริงในเชิงมูลค่าตามเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในระยะเวลาที่เป็นฐาน (Basic Period) การคำนวณอัตราผลผลิตโดยใช้มูลค่าในปีฐานเป็นเกณฑ์นี้ เรียกว่า การวัดอัตราผลผลิตแบบพลวัต จุดประสงค์ก็เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบอัตราผลผลิตปีหนึ่งไปอีกปีหนึ่งได้

 

ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทผลิตเครื่องคิดเลขรายหนึ่งผลิตเครื่องคิดเลขได้ 10,000 เครื่อง มูลค่า เครื่องละ 250 บาท โดยใช้คนงาน 50 คน ทำงานคนละ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 25 วัน ค่าแรงเฉลี่ยคนละ 20 บาทต่อชั่วโมง ต่อมาเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 12,000 เครื่องโดยใช้คนงานเพิ่มขึ้นอีก 10 คน อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไร

               

ในช่วงแรก ผลผลิต                                                 = 10,000   x  250                           =    2.5    ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  50  x  8  x  25  x  20                   =    0.20  ล้านบาท

                อัตราผผลผลิต (ของแรงงาน)                     =  2.5    / 0.20                               =    12.5

                      

เมื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแล้ว

                ผลผลิต                                               =  12,000 x 250                                =     3.0     ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  60 x 8 x 25 x20                             =     0.24   ล้านบาท

                อัตราผลผลิต (ของแรงงาน)                       =  3.0 / 0.24                                     =      12.5

                                                                              

 

                เห็นได้ชัดว่า ในตัวอย่างนี้ผลผลิตของเครื่องคิดเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (จาก  10,000 เครื่อง เพิ่มเป็น  12,000 เครื่อง ) แต่อัตราผลผลิตของแรงงานไม่เพิ่มขึ้นเลย ทำนองเดียวกันนี้อาจแสดงด้วยการคำนวณได้ว่าในบางกรณี  อัตราผลผลิตลดลงถึงแม้ว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือในกรณีอื่นอัตราผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นตามผลผลิตก็ได้

               นิยามของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ลักษณะนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากกว่าอัตราผลผลิตแบบดั้งเดิม ให้สังเกตว่าเมื่อพูดถึงอัตราผลผลิตย่อย เราคิดถึงอัตราผลผลิตด้านต่างๆ หลายๆด้าน ไม่ใช่ตัวเลขอัตราผลผลิตตัวเดียว อัตราผลผลิตด้านแรงงานซึ่งเป็นตัววัดอัตราผลผลิตที่พบบ่อยกว่าอย่างอื่น เป็นอัตราผลผลิตย่อยชนิดหนึ่ง เนื่องจากแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับทรัพยากรแรงงานอย่างเดียว

                อัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบและข้อจำกัดในการใช้กล่าวคือ อัตราผลผลิตย่อยนั้น เข้าใจง่าย หาข้อมูลง่าย และคำนวณง่าย แต่ควรใช้ร่วมกับอัตราผลผลิตรวมมิฉะนั้นอาจให้ภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ปรับปรุงผลผลิตไม่ถูกจุดก็ได้ สำหรับอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มนั้น หาข้อมูลจากบัญชีของบริษัทได้ค่อนข้างง่ายก็จริงแต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในบริษัทที่มีต้นทุนวัสดุเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม ไม่แสดงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุที่ใช้เลย ส่วนอัตราผลผลิตรวม เป็นตัวที่คำนึงถึงปัจจัยทุกอย่างที่วัดได้ทั้งด้านผลผลิตและทรัพยากรที่ใช้ ดังนี้จึงแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทได้ถูกต้องว่า ทั้งนี้จะต้องมีระบบเก็บข้อมูลที่ออกแบบสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

                จะเห็นได้ว่า การวัดอัตราผลผลิตในระดับบริษัทหรือหน่วยงานควรใช้อัตราผลผลิตย่อยควบคู่ไปกับอัตราผลผลิตรวมจึงจะให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องที่สุด  ตารางที่ 1.1 แสดงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท

 

ตารางที่ 1.1 ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของการใช้อัตราผลผลิต 3 ประเภท

 

ข้อได้เปรียบ

ข้อจำกัด

  • อัตราผลผลิตย่อย
  • 1. เข้าใจง่าย
  • 2. หาข้อมูลง่าย
  • 3. คำนวณง่าย
  • 4. ชักจูงให้ผู้บริหารใช้ได้ง่าย
  • 5. มีข้อมูลสำหรับทั้งอุตสาหกรรม

(เช่น ผลผลิตต่อคน - ชั่วโมง)

 

  • 1. ถ้าใช้เพียงตัวเดียวโดดๆ อาจให้ภาพที่ผิด
  • 2. ใช้ไม่ค่อยได้ในการควบคุมกำไร
  • อัตราผลผลิตรวม
  • 1. ให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องกว่า เพราะคำนึงถึงผลผลิตและทรัพยากรทั้งหมด
  • 2. ใช้ประโยชน์ได้ดีในการควบคุมกำไรโดยฝ่ายบริหารระดับสูง
  • 3. เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนรวม

 

  • 1. ต้องมีระบบเก็บข้อมูลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

 

  • อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม
  • 1. หาข้อมูลค่อนข้างง่าย
  • 2. นิยมใช้อยู่แล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์ในรูปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

 

 

  • 1. ไม่ได้พิจารณาโดยตรงถึงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุ
  • 2. หาข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบได้ค่อนข้างมาก

 

1.3 วิธีการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม

                องค์ประกอบที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมพอสรุปได้ ดังนี้

1. การลงทุน (Investment)

2. อัตราส่วนเงินทุน/แรงงาน (Capital/Labor)

3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

4. การใช้เงินทุน (Capital Utilization)

5. กฎระเบียบแห่งรัฐ (Government Regulation)

6. อายุของโรงงานและเครื่องจักร (Age of Plant & Equipment)

7. ต้นทุนพลังงาน (Energy Cost)

8. การประสมประสานของแรงงาน (Workforce Mix) (แรงงานชำนาญการและแรงงานทั่วไปประสมประสาน)

9. จริยธรรมในงาน (Work Ethic)

10. การบริหารงาน (Management)

11. อิทธิพลของสมาพันธ์แรงงาน (Union's Influence)

12. ความหวั่นเกรงของแรงงานต่อการตกงาน (Work's Fear about Loss of Job)

การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม  ถ้าพิจารณาจากสูตรของอัตราการผลิตที่ใช้อยู่จำเป็นดังนี้

 

อัตราผลผลิต  =   ผลผลิต (Output ) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

เราสามารถทำการเพิ่มผลผลิตจากอัตราผลผลิตที่สูงขึ้นเป็น 5 แนวทาง ดังนี้

  • 1. ผลผลิตเพิ่ม แต่ทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม (Output เพิ่ม Input เท่าเดิม)
  • 2. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output เพิ่ม Input ลดลง)
  • 3. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรสูงขึ้น แต่ใช้อัตราที่ต่ำกว่า (Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า)
  • 4. ผลผลิตคงที่ ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output คงที่ Input ลดลง)
  • 5. ผลผลิตลดลง ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราสูงกว่า (Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า)

การเพิ่มผลผลิตโดยมีการลดต้นทุนการผลิต (ลดส่วนของทรัพยากรที่ใช้) น่าจะเป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ได้ผลสูงสุด ขณะที่การเพิ่มผลผลิตโดยการลดกำลังการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตโดยลดต้นทุนลง (ลดทรัพยากรที่ต้องใช้) ในสัดส่วนที่มากกว่าผลผลิตที่ลดลง เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ไม่น่าจูงใจที่สุด  ปัจจุบันเกิดแนวคิดด้านการลดขนาดองค์กร (Down Sizing)  เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีผู้บริหารขององค์กรบางองค์กรพยายามนำแนวคิดนี้ไปใช้ทั้งๆ ที่องค์กรของตนเป็นองค์กรที่กำลังเติบโต ดังนั้นจะเห็นว่าการนำแนวการคิดการลดขนาดขององค์กรโดยมีผลผลิตเท่าเดิมเป็นไปในลักษณะเพิ่มผลผลิตหรือผลผลิตเท่าเดิมโดยลดต้นทุน (ลดทรัพยากรที่ใช้) ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่อยู่ตัวคือไม่ขยายตัวอีกแล้ว โดยโอกาสขยายตัวทางธุรกิจมีน้อยหรือองค์กรที่มีธุรกิจแบบ Sunset Industry คือ มีลักษณะถดถอยของธุรกิจการนำแนวคดแบบ (Down Sizing) ของธุรกิจลักษณะนี้ย่อมเป็นการเหมาะสมยิ่ง แต่กรณีองค์กรที่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องน่าจะใช้แนวคิดการเพิ่มผลผลิตแบบเพิ่มต้นทุน (เพิ่มทรัพยากรที่ใช้) รูป 1.1 เป็นรูปที่ผู้บริหารน่าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อไป

 

 
 
 

 

 

1. Output เพิ่ม Input เท่าเดิม 

 

 

 
 
 

 

 

   2. Output เพิ่ม Input ลดลง        

 

 

 
 
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
[email protected] [202.29.231.xxx] เมื่อ 6/02/2014 10:15
35
อ้างอิง
 
จักรพันธ์มงคลสำโรง [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:01
36
อ้างอิง

หน่วยเรียนที่ 1 การเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิต

 

1.1 ความหมายของการเพิ่มผลผลิตและอัตราผลผลิต

                การเพิ่มผลผลิต หมายถึง การเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่อัตราผลผลิต (Productiveity) จะแตกต่างจากคำว่า ผลผลิต (Product หรือ Production Output) และการผลิต (Production) ดังนั้น คำทั้งสามคำนี้จึงมีความหมายที่ต่างกัน

                ผลผลิต คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือบริการ

                การผลิต คือ กระบวนการทำงานในการผลิตหรือบริการ

                อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนของหน่วยผลผลิตต่อหน่วยกำลังหรือวัสดุที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณหน่วยที่ผลิตได้ต่อหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตนั้นๆ ทรัพยากรที่ใช้รวมถึงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงาน

 

  อัตราผลผลิต (Productiveity)  =   ผลผลิตที่ได้ (Output) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

                ผลผลิตที่ได้ หมายถึง ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต มิใช่ปริมาณการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมและเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่คุณภาพของผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

 

1.2 ประเภทของอัตราผลผลิต

                ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทอัตราผลผลิตเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                1. อัตราผลผลิตย่อย (Partial Productivity) อัตราผลผลิตย่อยเป็นอัตราส่วนของผลผลิตต่อทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละชนิด เช่น อัตราผลผลิตด้านแรงงาน (Labor Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อยด้านแรงงาน อัตราผลผลิตด้านเงินทุน (Capital Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อด้านเงินทุน อัตราผลผลิตด้านวัสดุ (Material Productivity) อัตราผลผลิตด้านพลังงาน (Energy Productivity) อัตราผลผลิตด้านสิ้นเปลือง ( Expense Productivity)

                2. อัตราผลผลิตรวม (Total Productivity) อัตราผลผลิตรวมเป็นอัตราส่วนของผลผลิตทั้งหมดต่อทรัพยากรที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นอัตราผลผลิตรวมจึงแสดงผลกระทบร่วมของทรัพยากรทั้งหมดในการทำผลผลิตออกมา

               3. อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity) อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราส่วนของผลผลิตสุทธิต่อผลรวมของทรัพยากร หรือปัจจัยด้านแรงงานและเงินทุน ผลผลิตสุทธิ หมายถึง ผลผลิตรวมหักออกด้วยสินค้าและบริการระหว่างกระบวนการที่ซื้อ (ตัวส่วนของอัตราส่วนนี้ประกอบด้วยปัจจัยแรงงานและทุนเท่านั้น)

                ในความหมายของอัตราการผลิตทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่ว่าผลผลิตหรือทรัพยากรที่ใช้ (Output & Input) จะใช้คำที่จะเกิดขึ้นจริงในเชิงมูลค่าตามเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในระยะเวลาที่เป็นฐาน (Basic Period) การคำนวณอัตราผลผลิตโดยใช้มูลค่าในปีฐานเป็นเกณฑ์นี้ เรียกว่า การวัดอัตราผลผลิตแบบพลวัต จุดประสงค์ก็เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบอัตราผลผลิตปีหนึ่งไปอีกปีหนึ่งได้

 

ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทผลิตเครื่องคิดเลขรายหนึ่งผลิตเครื่องคิดเลขได้ 10,000 เครื่อง มูลค่า เครื่องละ 250 บาท โดยใช้คนงาน 50 คน ทำงานคนละ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 25 วัน ค่าแรงเฉลี่ยคนละ 20 บาทต่อชั่วโมง ต่อมาเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 12,000 เครื่องโดยใช้คนงานเพิ่มขึ้นอีก 10 คน อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไร

               

ในช่วงแรก ผลผลิต                                                 = 10,000   x  250                           =    2.5    ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  50  x  8  x  25  x  20                   =    0.20  ล้านบาท

                อัตราผผลผลิต (ของแรงงาน)                     =  2.5    / 0.20                               =    12.5

                      

เมื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแล้ว

                ผลผลิต                                               =  12,000 x 250                                =     3.0     ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  60 x 8 x 25 x20                             =     0.24   ล้านบาท

                อัตราผลผลิต (ของแรงงาน)                       =  3.0 / 0.24                                     =      12.5

                                                                              

 

                เห็นได้ชัดว่า ในตัวอย่างนี้ผลผลิตของเครื่องคิดเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (จาก  10,000 เครื่อง เพิ่มเป็น  12,000 เครื่อง ) แต่อัตราผลผลิตของแรงงานไม่เพิ่มขึ้นเลย ทำนองเดียวกันนี้อาจแสดงด้วยการคำนวณได้ว่าในบางกรณี  อัตราผลผลิตลดลงถึงแม้ว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือในกรณีอื่นอัตราผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นตามผลผลิตก็ได้

               นิยามของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ลักษณะนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากกว่าอัตราผลผลิตแบบดั้งเดิม ให้สังเกตว่าเมื่อพูดถึงอัตราผลผลิตย่อย เราคิดถึงอัตราผลผลิตด้านต่างๆ หลายๆด้าน ไม่ใช่ตัวเลขอัตราผลผลิตตัวเดียว อัตราผลผลิตด้านแรงงานซึ่งเป็นตัววัดอัตราผลผลิตที่พบบ่อยกว่าอย่างอื่น เป็นอัตราผลผลิตย่อยชนิดหนึ่ง เนื่องจากแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับทรัพยากรแรงงานอย่างเดียว

                อัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบและข้อจำกัดในการใช้กล่าวคือ อัตราผลผลิตย่อยนั้น เข้าใจง่าย หาข้อมูลง่าย และคำนวณง่าย แต่ควรใช้ร่วมกับอัตราผลผลิตรวมมิฉะนั้นอาจให้ภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ปรับปรุงผลผลิตไม่ถูกจุดก็ได้ สำหรับอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มนั้น หาข้อมูลจากบัญชีของบริษัทได้ค่อนข้างง่ายก็จริงแต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในบริษัทที่มีต้นทุนวัสดุเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม ไม่แสดงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุที่ใช้เลย ส่วนอัตราผลผลิตรวม เป็นตัวที่คำนึงถึงปัจจัยทุกอย่างที่วัดได้ทั้งด้านผลผลิตและทรัพยากรที่ใช้ ดังนี้จึงแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทได้ถูกต้องว่า ทั้งนี้จะต้องมีระบบเก็บข้อมูลที่ออกแบบสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

                จะเห็นได้ว่า การวัดอัตราผลผลิตในระดับบริษัทหรือหน่วยงานควรใช้อัตราผลผลิตย่อยควบคู่ไปกับอัตราผลผลิตรวมจึงจะให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องที่สุด  ตารางที่ 1.1 แสดงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท

 

ตารางที่ 1.1 ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของการใช้อัตราผลผลิต 3 ประเภท

 

ข้อได้เปรียบ

ข้อจำกัด

  • อัตราผลผลิตย่อย
  • 1. เข้าใจง่าย
  • 2. หาข้อมูลง่าย
  • 3. คำนวณง่าย
  • 4. ชักจูงให้ผู้บริหารใช้ได้ง่าย
  • 5. มีข้อมูลสำหรับทั้งอุตสาหกรรม

(เช่น ผลผลิตต่อคน - ชั่วโมง)

 

  • 1. ถ้าใช้เพียงตัวเดียวโดดๆ อาจให้ภาพที่ผิด
  • 2. ใช้ไม่ค่อยได้ในการควบคุมกำไร
  • อัตราผลผลิตรวม
  • 1. ให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องกว่า เพราะคำนึงถึงผลผลิตและทรัพยากรทั้งหมด
  • 2. ใช้ประโยชน์ได้ดีในการควบคุมกำไรโดยฝ่ายบริหารระดับสูง
  • 3. เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนรวม

 

  • 1. ต้องมีระบบเก็บข้อมูลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

 

  • อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม
  • 1. หาข้อมูลค่อนข้างง่าย
  • 2. นิยมใช้อยู่แล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์ในรูปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

 

 

  • 1. ไม่ได้พิจารณาโดยตรงถึงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุ
  • 2. หาข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบได้ค่อนข้างมาก

 

1.3 วิธีการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม

                องค์ประกอบที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมพอสรุปได้ ดังนี้

1. การลงทุน (Investment)

2. อัตราส่วนเงินทุน/แรงงาน (Capital/Labor)

3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

4. การใช้เงินทุน (Capital Utilization)

5. กฎระเบียบแห่งรัฐ (Government Regulation)

6. อายุของโรงงานและเครื่องจักร (Age of Plant & Equipment)

7. ต้นทุนพลังงาน (Energy Cost)

8. การประสมประสานของแรงงาน (Workforce Mix) (แรงงานชำนาญการและแรงงานทั่วไปประสมประสาน)

9. จริยธรรมในงาน (Work Ethic)

10. การบริหารงาน (Management)

11. อิทธิพลของสมาพันธ์แรงงาน (Union's Influence)

12. ความหวั่นเกรงของแรงงานต่อการตกงาน (Work's Fear about Loss of Job)

การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม  ถ้าพิจารณาจากสูตรของอัตราการผลิตที่ใช้อยู่จำเป็นดังนี้

 

อัตราผลผลิต  =   ผลผลิต (Output ) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

เราสามารถทำการเพิ่มผลผลิตจากอัตราผลผลิตที่สูงขึ้นเป็น 5 แนวทาง ดังนี้

  • 1. ผลผลิตเพิ่ม แต่ทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม (Output เพิ่ม Input เท่าเดิม)
  • 2. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output เพิ่ม Input ลดลง)
  • 3. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรสูงขึ้น แต่ใช้อัตราที่ต่ำกว่า (Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า)
  • 4. ผลผลิตคงที่ ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output คงที่ Input ลดลง)
  • 5. ผลผลิตลดลง ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราสูงกว่า (Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า)

การเพิ่มผลผลิตโดยมีการลดต้นทุนการผลิต (ลดส่วนของทรัพยากรที่ใช้) น่าจะเป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ได้ผลสูงสุด ขณะที่การเพิ่มผลผลิตโดยการลดกำลังการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตโดยลดต้นทุนลง (ลดทรัพยากรที่ต้องใช้) ในสัดส่วนที่มากกว่าผลผลิตที่ลดลง เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ไม่น่าจูงใจที่สุด  ปัจจุบันเกิดแนวคิดด้านการลดขนาดองค์กร (Down Sizing)  เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีผู้บริหารขององค์กรบางองค์กรพยายามนำแนวคิดนี้ไปใช้ทั้งๆ ที่องค์กรของตนเป็นองค์กรที่กำลังเติบโต ดังนั้นจะเห็นว่าการนำแนวการคิดการลดขนาดขององค์กรโดยมีผลผลิตเท่าเดิมเป็นไปในลักษณะเพิ่มผลผลิตหรือผลผลิตเท่าเดิมโดยลดต้นทุน (ลดทรัพยากรที่ใช้) ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่อยู่ตัวคือไม่ขยายตัวอีกแล้ว โดยโอกาสขยายตัวทางธุรกิจมีน้อยหรือองค์กรที่มีธุรกิจแบบ Sunset Industry คือ มีลักษณะถดถอยของธุรกิจการนำแนวคดแบบ (Down Sizing) ของธุรกิจลักษณะนี้ย่อมเป็นการเหมาะสมยิ่ง แต่กรณีองค์กรที่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องน่าจะใช้แนวคิดการเพิ่มผลผลิตแบบเพิ่มต้นทุน (เพิ่มทรัพยากรที่ใช้) รูป 1.1 เป็นรูปที่ผู้บริหารน่าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อไป

 

 
 
 

 

 

1. Output เพิ่ม Input เท่าเดิม 

 

 

 
 
 

 

 

   2. Output เพิ่ม Input ลดลง        

 

 

 
 
 

 

 

3. Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า

 

 

                                                                         4. Output คงที่ Input ลดลง          

 

                                                                           5. Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า

 

 

รูปที่ 1.1 รูปแบบแนวทางการเพิ่มผลผลิตโดยอัตราผลผลิตสูงขึ้น

                     

 

                      ตัวอย่างการเพิ่มผลผลิตโดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

                      มูลค่าผลผลิต                                                                   2,000,000 บาท

                      มูลค่าทรัพยากรที่ใช้                                                      1,000,000 บาท

                      ดัชนีอัตราผลผลิต (Productivity Index) = 2,000,000/1,000,000 = 2

1. ถ้ามูลค่าผลผลิตสูงขึ้นเป็น 2,400,000 บาท ขณะที่มูลค่าทรัพยากรที่ใช่เท่าเดิม

ดัชนีอัตราผลผลิต  =  2,400,000/1,000,000 = 2.4

                             อัตราผลผลิตจะสูงขึ้น 20%

2. ถ้ามูลค่าผลผลิตสูงขึ้นเป็น 2,400,000 บาท ขณะที่ต้นทุนลดลงเหลือ 800,000 บาท

ดัชนีอัตราผลผลิต  =  2,400,000/800,000 = 3

                             อัตราผลผลิตจะสูงขึ้น 50%

3. ถ้ามูลค่าผลผลิตสูงขึ้นเป็น 2,400,000 บาท ต้นทุนสูงขึ้นเป็น 1,100,000 บาท

ดัชนีอัตราผลผลิต  =  2,400,000/1,100,000 = 2.16

                             อัตราผลผลิตจะสูงขึ้น 8%

4. ถ้ามูลค่าผลผลิตเท่าเดิม และต้นทุนลดต่ำลงเหลือ 800,000 บาท

ดัชนีอัตราผลผลิต  =  2,000,000/800,000 = 2.5

                             อัตราผลผลิตจะสูงขึ้น 25%

5. ถ้ามูลค่าผลผลิตลดลงเหลือ 1,800,000 บาท ต้นทุนลดลงเหลือ 800,000 บาท

ดัชนีอัตราผลผลิต  =  1,800,000/800,000 = 2.25

                             อัตราผลผลิตจะสูงขึ้น 12.5%

 

1.4 วงจรของการเพิ่มผลผลิต

                      กระบวนการเพิ่มผลผลิตนั่นเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง โดยมีวงจรของการเพิ่มผลผลิตหรือวงจรอัตราผลผลิต (Productivity Cycle) ดังต่อไปนี้

  • 1. การวัดผลงาน (Measurement)
  • 2. การประเมินผลงาน (Evaluation)
  • 3. การวางแผน (Planning)
  • 4. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

                การดำเนินการเพิ่มผลผลิต โดยกระบวนการที่ต่อเนื่องนี้ เริ่มจากการวัดผลงานโดยใช้ดัชนีอัตราผลผลิตเป็นค่าวัดสำหรับช่วงเดือน ไตรมาส หรือปี ดัชนีอัตราผลผลิตนี้จะต้องใช้ประเมินเพื่อเปรียบเทียบกับระดับอัตราผลผลิตสำหรับเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าว จากการเปรียบเทียบการประเมินผลงานนี้ ค่าระดับดัชนีอัตราผลผลิตใหม่ต้องถูกกำหนดขึ้นและจัดเตรียมแผนงานรองรับ เป้าหมายสำหรับระยะเวลาต่อไป จากนั้นกระบวนการปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตจะต้องเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถบรรลุระดับดัชนีอัตราผลผลิตเป้าหมายใหม่ เพื่อที่จะได้รูว่าเป้าหมายใหม่ได้บรรลุแล้วหรือยัง หลังจากนั้นการวัดผลงานก็จะเกิดขึ้นเมื่อช่วงเวลาต่อไปสิ้นสุดลง การประเมินผลงาน การวางแผนงาน และการปรับปรุงงานเพื่อเพิ่มผลผลิตก็ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้อัตราผลผลิตสูงขึ้นตามลำดับเป็นการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

 

1.5 สาเหตุที่ทำให้อัตราผลผลิตตกต่ำ

                      อัตราผลผลิตที่ตกต่ำเนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้

1. คนงาน

  • ขาดความชำนาญ
  • ขาดความสามารถ
  • ขาดการศึกษา
  • ขาดการให้คำแนะนำและฝึกอบรมที่ดี

2. สิ่งแวดล้อมในการทำงาน

  • แสงสว่างไม่เพียงพอ
  • อุณหภูมิไม่เหมาะสม
  • การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก
  • ความปลอดภัยในการทำงานไม่ดี
  • ความสัมพันธ์ในหมู่คนทำงานไม่ดี

3. สาเหตุทางเทคนิคและการวางแผน

  • ไม่มีการวางแผนการวางแผน
  • เครื่องจักรไม่เหมาะสม
  • มี่มาตรฐานในการผลิต
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ดี
  • กระบวนการผลิตไม่ถูกต้อง
  • การจัดวางผังโรงงานไม่ดี
  • เวลาว่างมากเกินไป

4. สิ่งกระตุ้นและองค์ประกอบอื่นๆ

  • ลักษณะการบริหารงานและโครงสร้างของบริษัทในการเลื่อนตำแหน่งงานไม่ดี
  • หัวหน้างานขาดความรับผิดชอบ
  • อิทธิพลจากสหภาพแรงงาน
  • ไม่มีสิ่งจูงใจด้านผลตอบแทนและสวัสดิการในการทำงาน

 

1.6 เทคนิคการปรับปรุงงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต

                      หลักทั่วไปในการปรับปรุงงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นนั้น ไม่ว่าจำเป็นงานประเภทใด หรือลักษณะใด มีหลักใหญ่ๆ ที่ใช้ได้โดยทั่วๆ ไป และ

 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
จักรพันธ์มงคลสำโรง [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:25
37
อ้างอิง

mai_adisak

6.1 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000

    6.1.1 ความหมายของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 

        

            กรมอาชีวศึกษา (2539 :13) กล่าวว่า มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 หมายถึงมาตรฐานสากล
เกี่ยวกับระบบบริหารงานคุณภาพขั้นพื้นฐานที่ใช้เพื่อการบริหารหรือจัดการคุณภาพและการประกันคุณภาพ
โดยเน้นการสร้างคุณภาพภายในองค์กร ซึ่งจะเน้นองค์กรประเภทใดก็ได้ไม่จำกัดชนิดของสินค้าหรือบริการ
ไม่ระบุชนิดหรือขนาดของอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ นำมาใช้โดยไม่มีขีดจำกัด
          สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) (2546 : 2/16) ได้นิยามความหมายระบบบริหารงาน
คุณภาพ (Quality Management System) หมายถึง ระบบที่มีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์และการ
ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมองค์การในเรื่องคุณภาพ
          สรุป มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 คือมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นระบบบริหาร
ประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานอันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมาย
ที่จะให้ระบบคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์การต่าง ๆ และประเทศต่าง ๆ

ประวัติความเป็นมาของมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000

องค์กรสากลว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) ซึ่ง
ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 (พ.ศ. 2490) ปัจจุบัน
มีสมาชิก 143 ประเทศ ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 25 ประเทศร่วมประชุมกันที่กรุงลอนดอน
มีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสหประชาชาติได้ให้การยอมรับเป็นองค์การ
ชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล

จุดเริ่มแรกในการดำเนินระบบมาตรฐาน ISO 9000 คือ สถาบันมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี 
(DIN) ในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) มีแนวคิดพื้นฐานคือ การนำระบบมาตรฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน
มารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นซึ่งตรงกับหลักการ
ของ ISO ดังนั้นทาง ISO จึงได้ตั้งคณะกรรมการทางด้านเทคนิค (Technic Committee : ISO/TC/176) ขึ้นมา 
การจัดตั้งองค์กร ISO มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเกิดระบบมาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

ISO เดิมใช้คำย่อว่า 'IOS' โดยมีความหมายในภาษากรีกแปลว่า ความสับสน (ไม่เป็นมงคล)
จึงเปลี่ยนมาเป็น ISO ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ ISOS แปลว่า 'เท่าเทียมกัน' และตรงกับเจตนารมณ์ขององค์การ
ISO ที่ต้องการให้ทั่วโลกมีมาตรฐานที่มีความเท่าเทียมกัน (ทัดเทียมกัน) โดยมีภารกิจหลัก คือ

1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองต่อการค้าขายแลกเปลี่ยน
สินค้า และบริการของนานาชาติทั่วโลก
2. พัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษย์
ชาติ

ผลงานที่เป็นรูปธรรมของ ISO คือ การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่ามาตรฐานสากล (Inter-
national Standard) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการด้าน
เทคนิคขึ้นมาคณะหนึ่ง เป็นกรรมการชุดที่ 176 จากที่มีกรรมการขณะนี้กว่า 2000 ชุด กรรมการชุดนี้เรียกว่า
Technical Committee, ISO/TC Quality Assurance และ 

คณะกรรมการวิชาการชุดที่ 176 ได้ดำเนินการยกร่างระบบบริหารงานคุณภาพเป็นสากล ต้นแบบ 
ของ ISOO 9000 นั้นมาจากมาตรฐานแห่งชาติของอังกฤษ คือ BS 5750 มาเป็นแนวทาง คือระบบบริหารงาน
คุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐานของระบบการบริหารงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ระบุถึงข้อ
กำหนดที่จำเป็นต้องมีในระบบคุณภาพและใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติซึ่งสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม ธุรกิจการบริหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ISO ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท คือ

1. Member Body เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งหมายถึง เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐาน
ของประเทศนั้น ๆ มีสิทธิออกเสียงในเรื่องของวิชาการ มีสิทธิเข้ารับการเลือกตั้งเป็นคณะมนตรี ISO และ
สามารถเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่
2. Correspondent Member เป็นหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งยังไม่มีสถาบันมาตรฐาน
เป็นของตัวเอง สมาชิกประเภทนี้จะไม่เข้าร่วมในเรื่องของวิชาการ แต่มีสิทธิจะได้รับข่าวสารความเคลื่อนไหว
ของ ISO และเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์
3. Subscribe Membership สมาชิกประเภทนี้ เปิดสำหรับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างเล็ก
ให้สามารถติดต่อกับ ISO ได้

          สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในเรื่องมาตรฐานของประเทศ เรียกว่า
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) (Thai Industrial Standard Institute: TISI) สังกัดกระทรวง
อุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2511 หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-1550 โทรสาร 02-246-4085, 246-4307 (สำหรับ
มาตรฐานที่ใช้ควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรียกว่า มาตรฐานอุตสาหกรรม : มอก.) และ สมอ. ได้ประกาศ
ใช้อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108
ตอนที่ 99 วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยใช้ชื่อว่า อนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ มอก. - ISO 9000 ในปี
พ.ศ. 2542

ภาพที่ 39 แสดงเครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดย สมอ.

เครื่องหมายมาตรฐาน ทั่วไป

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม


เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่วนมากให้การยอมรับมาตรฐาน ISO 9000 อย่างชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามได้มีการเรียกชื่อระบบคุณภาพที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้

 ชื่อเรียก และอักษรย่อสำหรับมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 ของประเทศต่าง ๆ

ชื่อประเทศ
ชื่อเรียกย่อ
1. มาตรฐานไอเอสโอ
2. ออสเตรเลีย
3. ออสเตรีย
4. เบลเยี่ยม
5. แคนาดา
6. เดนมาร์ก
7. ตลาดร่วมด้านเศรษฐกิจของยุโรป
8. ฟินแลนด์
9. ฝรั่งเศส
10. เยอรมัน
11. อินเดีย
12. ไอร์แลนด์
13. เนเธอร์แลนด์
14. นอร์เวย์
15. แอฟริกาใต้
16. สเปน
17. สวีเดน
18. สวิตเซอร์แลนด์
19. เครือจักรภพ
20. สหรัฐอเมริกา
21. ยูโกสลาเวีย
22. ญี่ปุ่น
23. สิงคโปร์
24. ไทย
25. จีน
1. ISO 9000
2. AS 3900
3. Norm ISO 9000
4. NBN X 50-002-1
5. DS/ISO 9000
6. DS/EN 29000
7. EN 29000
8. SFS-ISO 9000
9. NF S 50-121
10. DIN ISO 9000
11. IS 300
12. ISO 9000
13. NEN-ISO 9000
14. NS 5801
15. SABS 0157
16. UNE 66 900
17. SS 9000
18. SN-ISO>900
19. BS 5750
20. ANSI/ASQC Q90
21. JUS A.K.1.010
22. JISZ 9900 - 1991
23. SS 308.1998
24. TISI ISO 9000
25. GB/T 10300.1-88

สรุปประวัติความเป็นมาของ ISO

1. ISO ย่อมาจากคำว่า International Organization for Standardization (องค์การระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน) ซึ่งเป็นองค์การสากลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหรือปรับมาตรฐาน
นานาชาติเกือบทุกประเภท (ยกเว้นด้านไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก
สามารถใช้มาตรฐานเดียวกันได้

2. ISO เมื่อก่อนใช้คำย่อว่า 'IOS' โดยมีความหมายในทางภาษากรีกแปลออกมาแล้วไม่เป็น
มงคล จึงเปลี่ยนมาเป็น ISO ซึ่งมาจากภาษากรีก คือ ISOS แปลว่า 'เท่าเทียมกัน' และตรงกับเจตนารมณ์ของ
องค์กร ISO ที่ต้องการให้ทั่วโลกมีมาตรฐานที่มีความเท่าเทียมเทียมกัน

3. องค์การนี้เป็นองค์การนานาชาติที่ดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ ได้
ก่อตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 หรือ พ.ศ. 2490 ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 25 
ประเทศ ร่วมประชุมกันที่กรุงลอนดอน มีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสห-
ประชาชาติได้ให้การยอมรับเป็นองค์การชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล 

4. การจัดตั้งองค์การ ISO มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำหนด
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือเกิดระบบ
มาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

5. ปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกปัจจุบัน 143 ประเทศ โดยมีภารกิจ
หลักคือ

5.1 ให้การสนับสนุนและพัฒนามาตรฐาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนองต่อการค้าขาย
แลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการของนานาชาติทั่วโลก
5.2 พัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของ
มวลมนุษยชาติ

6. ผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมของ ISO คือการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่ามาตรฐานสากล 
(International Standard) และได้มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ขึ้น
เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการด้านเทคนิคขึ้นมาคณะหนึ่ง
เป็นกรรมการชุดที่ 176 จากที่มีกรรมการขณะนี้กว่า 2000 ชุด กรรมการชุดนี้เรียกว่า Technical Committee,
ISO/TC 176 on Quality Assurance

7. คณะกรรมการวิชาการชุดที่ 176 ได้ดำเนินการยกร่างระบบบริหารคุณภาพเป็นสากลโดยการ
นำเอามาตรฐาน BS 5750 ของอังกฤษมาเป็นแนวทาง คือ ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐาน
ของระบบการบริหารงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ระบุถึงข้อกำหนดที่จำเป็นต้องมีในระบบ
คุณภาพและใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติซึ่งสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจการ การ
บริหาร ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

      6.1.2 ลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ : ISO 9000

           มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 หรือเรียกอย่างย่อว่าระบบคุณภาพ ISO 9000 ตาม
ความหมายที่กล่าวมาแล้วว่า มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้เพื่อการบริหารหรือ
จัดการคุณภาพภายในองค์การ ซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นองค์การธุรกิจ กิจการอุตสาหกรรมก็สามารถที่จะนำเอาระบบ
คุณภาพนี้ไปใช้ได้ ทั้งนี้ระบบคุณภาพ ISO 9000 จะไม่รับประกันว่าผลิตภัณฑ์จะดีที่สุดหรือมีมาตรฐานที่สุด
แต่ระบบคุณภาพ ISO 9000 จะประกันว่าการบริหารงานขององค์การนั้นมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งอาจจะเป็น
ผลกันว่าเมื่อมีการบริหารงานที่ดีมีคุณภาพ ย่อมจะส่งผลไปถึงความมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการด้วย
ลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ : ISO 9000 ดังนี้

1. เป็นการบริหารงานคุณภาพ เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยยึดหลักของคุณภาพที่มุ่งเน้นให้มี 
การจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) เป็นไปตาม
ความต้องการของลูกค้าตั้งแต่แรกที่ได้รับสินค้าหรือบริการตามข้อตกลง
2. เน้นการบริหารงานคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้ายในกระบวน
การผลิตของธุรกิจนั้น ๆ
3. เน้นการปฏิบัติที่เป็นระบบอย่างมีแบบแผน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
4. สามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยมีหลักฐานทางด้านเอกสารที่เก็บไว้ ซึ่งจะนำเอาสิ่งที่ปฏิบัติมา
จัดทำเป็นเอกสาร โดยจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้นำไปใช้งานได้สะดวกและก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
5. เป็นระบบบริหารงานคุณภาพที่ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วม
6. เป็นแนวทางการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์การ
7. เป็นระบบบริหารงานคุณภาพที่นานาชาติยอมรับและใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ
8. เป็นที่ยอมรับของลูกค้าชั้นนำ เช่น ประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา และเป็น
เงื่อนไขของกลุ่มประเทศภายใต้การตกลงว่าด้วยสิทธิการปกป้องอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ (General
Agreement on Tax and Tariff; GATT) ที่กำหนดให้ประเทศคู่แข่งขันทางการค้าใช้เป็นมาตรฐานสากลให้
การยอมรับซึ่งกันและกันสำหรับการทดสอบและการรับรอง
9. ระบบคุณภาพ ISO 9000 เป็นการรับรองในระบบคุณภาพขององค์การ ไม่ใช่เป็นการรับรอง
ตัวผลิตภัณฑ์เหมือนกับมาตรฐานสินค้าอื่น ๆ
10. ต้องมีหน่วยงานที่ 3 (third party) ที่ได้รับการรับรองจากองค์การมาตรฐานสากลระหว่าง
ประเทศ (ISO) มาทำการตรวจสอบเพื่อให้การรับรอง เมื่อผ่านการรับรองแล้วจะต้องได้รับการตรวจซ้ำอีก
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาของการรับรอง 3 ปี เมื่อครบกำหนด 3 ปี แล้วจะต้องมีการตรวจ
ประเมินใหม่ทั้งหมด

โครงสร้างและแนวคิดของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 : 2000
โครงสร้างและแนวคิดของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 มีดังนี้

1. มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของมาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงแนวคิดเพื่อให้ตรงตามความ 
พึงพอใจของลูกค้า
2. ประเพณีที่เคยปฏิบัติมาที่เป็นข้อกำหนดทั้ง 20 ข้อของมาตรฐานในปี 1994 ถูกเปลี่ยนให้เป็น
แนวคิดในการมองและคิดอย่างเป็นกระบวนการ (Process Approach)
3. โครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการจะถูกทำให้สอดคล้องตรงกับแนวคิดเรื่องวงจรการพัฒนา
ระบบอย่างต่อเนื่อง Plan-Do-Check-Act (P-D-C-A) เปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้สอดคล้องรับกับมาตรฐาน
ISO 14000:1996 และ OHSAS 18000:1999
4. ใช้หลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการเป็นเครื่องมือช่วยในการทำให้การบริหารงาน
ระบบคุณภาพประสบความสำเร็จ

          ISO 9000 : 2000 มุ่งส่งเสริมให้มีการนำการบริหารโดยการมองและคิดอย่างเป็นกระบวนการ
สำหรับการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ การนำระบบบริหารคุณภาพไปประยุกต์ใช้ และการปรับปรุง
ประสิทธิผลของระบบบริหารขององค์การ ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์การสามารถเสริมสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ของตนด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

          ในการที่องค์การใดจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดและบริหาร
ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบภายในองค์การนั้น อาจกล่าวได้ว่ากิจกรรม
ใด ๆ ก็ตามที่มีการใช้ทรัพยากร และมีการจัดการเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยป้อนเข้า (Inputs) ให้
กลายเป็นผลผลิต (Outputs) กิจกรรมนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการ (Process) บ่อยครั้งที่ผลผลิตของ
กระบวนการหนึ่งจะกลายเป็นปัจจัยป้อนเข้าให้กับกระบวนการหนึ่งที่อยู่ถัดไป

          การประยุกต์ใช้ระบบจะประกอบขึ้นด้วยกระบวนการต่าง ๆ ที่อยู่ภายในองค์การ โดยมีการระบุ
ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ (Interactions) รวมถึงการบริหารจัดการกระบวนการเหล่านั้นด้วย การ
ดำเนินการเช่นว่านี้อาจเรียกได้ว่าการบริหารโดยมองเป็นกระบวนการ (Process approach)

          คุณประโยชน์ประการหนึ่งของการบริหารโดยการมองและคิดอย่างเป็นกระบวนการ คือ การ
เอื้ออำนวยให้องค์การสามารถดำเนินการควบคุมการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละกระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
กระบวนการ และการผนวกร่วมกันของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบบริหารคุณภาพ จะทำให้มีการ
เน้นถึงความสำคัญของ

1. การทำความเข้าใจและการตอบสนองต่อข้อกำหนด
2. ความจำเป็นในการพิจารณาถึงกระบวนการ ในแง่ของการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value)
3. การให้ได้มาซึ่งผลการดำเนินการของกระบวนการและประสิทธิผลของกระบวนการ
4. การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยข้อมูลจากการตรวจวัดอย่างเป็นระบบ

          หลักการทางระบบ ISO 9000 : 2000 คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมองเป็นกระบวนการ
ซึ่งสามารถอธิบายเป็นแผนภูมิได้ ดังนี้

ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนา, 2546 : 1-7

          จากภาพ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าลูกค้าขององค์การ มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการกำหนดหรือ
ระบุชี้ความต้องการของลูกค้าให้เป็นปัจจัยป้อนเข้าของระบบการจัดการในองค์การ การเฝ้าติดตาม (Monitor-
ing) ถึงความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ภายหลังจากองค์การได้ส่งมอบผลผลิตขององค์การ
ไปแล้ว การเฝ้าติดตามวัดความพึงพอใจของลูกค้านั้น เพื่อให้ทราบว่าบรรดาข้อกำหนดของลูกค้าได้รับการ
ตอบสนองโดยครบถ้วนแล้วหรือไม่
          หลักการที่ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000:2000 นำมาใช้คือหลักการพัฒนาออย่างต่อเนื่อง คือ
          Plan : ทำการกำหนด หรือระบุชี้ วัตถุประสงค์และกระบวนการที่จำเป็นต่อการส่งมอบ
ผลิตภัณฑ์บริการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า และนโยบายขององค์กรเอง
          Do : นำกระบวนการที่กำหนดชัดเจนแล้วไปปฏิบัติให้เกิดผล
          Check : ติดตามตารางและจัดกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ โดยเปรียบเทียบกับนโยบายวัตถุประสงค์
ของผลิตภัณฑ์
          Action : ปฏิบัติการต่าง ๆ แล้วปรับปรุงผลการดำเนินงานของกระบวนการให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 

มาตรฐาน
หัวข้อ
ISO 9000 : 2000 ระบบบริหารงานคุณภาพ : หลักการพื้นฐานและคำศัพท์
ISO 9001 : 2000 ระบบบริหารคุณภาพ : ข้อกำหนด
ISO 9004 : 2000 ระบบบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสำหรับปรับปรุงสมรรถนะ

          อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000:2000 มี 2 ฉบับ คือ ISO 9001 และ ISO 9004 ซึ่งทั้ง 2 ฉบับเป็น
มาตรฐานซึ่งสอดรับกัน (Consistent Pair) หรือจะแยกกันก็ได้ และถึงแม้ว่ามาตรฐานทั้งสองจะมีขอบข่าย
ที่แตกต่างกัน แต่มาตรฐานทั้ง 2 ฉบับ มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันอาจเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง
มาตรฐานทั้ง 2 ฉบับได้ดังนี้
          มาตรฐาน ISO 9001 ได้วางข้อกำหนดสำหรับองค์การ เพื่อการจัดทำระบบบริหารคุณภาพสำหรับ
ประยุกต์ใช้ภายในองค์การของงาน และการออกใบรับรอง หรือเพื่อวัตถุประสงค์ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญา
ระหว่างองค์กรกับลูกค้า มาตรฐานฉบับนี้มุ่งเน้นที่ความมีประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพขององค์กร
ในการบรรลุถึงข้อกำหนดของลูกค้า
         มาตรฐาน ISO 9004 ให้แนวทางของระบบบริหารคุณภาพที่มีขอบเขตกว้างขวางกว่าที่กำหนด
ไว้ใน ISO 9001 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงผลการดำเนินงานโดยรวมขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมถึงด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย มีความประสงค์จะพัฒนาองค์กรของงานให้ก้าวไปเกินกว่าระดับที่กำหนดใช้ในมาตรฐาน ISO 9001 โดยเฉพาะในด้านการปรับปรุงผลประกอบการขององค์กรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามมาตรฐาน ISO 9004 ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ใช้หรือการขอการรับรอง(Certification) หรือเพื่อประกอบในการทำสัญญากับลูกค้า
          ISO 9000:2000 ไม่มีข้อกำหนดที่จำเพาะเจาะจงในหัวข้อการบริหารจัดการในระบบอื่น ๆ เช่น
ระบบบริหารสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีว-
อนามัย (Occupational Health and Safety Management) หรือระบบการบริหารการเงิน (Financial Manage-
ment) หรือแม้กระทั่งการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) อย่างไรก็ตามมาตรฐานฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้องค์การผู้นำมาตรฐานนี้ไปใช้ สามารถเลือกที่จะปรับ (Align) หรือผนวกรวม (Integrate) ระบบบริหาร
คุณภาพให้สอดรับกับระบบการบริหารอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในองค์กร แต่ในบางกรณีองค์กรอาจปรับเปลี่ยน
ระบบการบริหารงานของตนเพื่อเอื้ออำนวยให้สามารถจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพที่สอดรับกับข้อกำหนด
ในมาตรฐานฉบับนี้ก็ได้

     หลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการ
          หลักการที่ 1 : องค์กรที่ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า (Customer Focused Organization)
          'องค์กรต้องพึ่งพิงลูกค้าเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้ง
ในส่วนปัจจุบันและอนาคต และทำให้บรรลุความต้องการเหล่านั้น รวมถึงการพยายามที่จะทำให้ได้เกินความ
คาดหวังของลูกค้า'
          'Organizations depend their customers and therefore should understand current and future
customer needs, should meet customer requirements and strive to exceed customer expectations.'

     การนำหลักการไปประยุกต์ใช้งาน

1. เข้าใจความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้า
2. กำหนดเป้าหมายและองค์กรให้สัมพันธ์กับความต้องการและคาดหวังของลูกค้า
3. สื่อความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าให้เป็นที่เข้าใจทั่วถึงทั้งองค์กรวัดความพึงพอใจ
ของลูกค้า
4. สร้างสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นระบบ 
5. คำนึงถึงความสมดุลในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

     ประโยชน์ที่ได้

1. มีความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการตอบสนองตลาด ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดและรายได้
เพิ่มขึ้น
2. เพิ่มความภักดีของลูกค้า และการแนะนำต่อ
3. ทำให้การใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

      หลักการที่ 2 : ความเป็นผู้นำ (Leadership)

          'ผู้นำเป็นผู้กำหนดความเป็นเอกภาพของวัตถุประสงค์และทิศทางขององค์กร ผู้นำต้องเป็นผู้
สร้างและธำรงไว้ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนภายในที่สนับสนุนให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและส่งเสริมการบรรลุ
วัตถุประสงค์ขององค์กรได้'

          'Leaders establish unity of purpose and direction of the organization. They should create and
maintain the internal environment in which people can become fully involved in achieving the organization's
objectives

      การนำหลักการไปประยุกต์ใช้งาน

1. พิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
2. กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขององค์กร
3. กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย
4. สร้างและรักษาคุณค่า ความเสมอภาค และจรรยาบรรณร่วมกัน ให้มีในทุกระดับขององค์กร 
5. สร้างความไว้วางใจและขจัดความหวาดกลัว
6. จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น
7. ให้การฝึกอบรม
8. ให้อิสระในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ 
9. สร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุน และให้การยอมรับต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร

     ประโยชน์ที่ได้

1. ทำให้บุคลากรเข้าใจและเกิดแรงจูงใจเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร
2. มีการประเมินผลของกิจกรรมต่าง ๆ ปรับ และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน
3. ลดความผิดพลาดในการสื่อความ ระหว่างบุคลากรในระดับต่าง ๆ

     หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of people)

          'พนักงานทุกระดับถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรและการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และเต็ม
ความสามารถของพนักงานทุกคน ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร'
          'People at all levels are the essence of an organization and their full involvement enables their
abilities to be used for the organization's benefit.'

     การนำหลักการไปประยุกต์ใช้งาน

1. ทำให้บุคลากรเข้าใจในความสำคัญของการมีส่วนร่วมและบทบาทของตนในองค์กร
2. ให้รู้ข้อจำกัดในการทำงาน
3. ทำให้ยอมรับเป็นเจ้าของปัญหา และความรับผิดชอบในการแก้ไข
4. ประเมินผลงานเทียบกับเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้
5. เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอย่างสม่ำเสมอ 
6. แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
7. พิจารณาข้อปัญหา และประเด็นต่าง ๆ อย่างเปิดเผย

ประโยชน์ที่ได้ 

1. ทำให้บุคลากรเกิดแรงจูงใจ มุ่งมั่น และมีส่วนร่วม
2. สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้เหนือกว่าเป้าหมายที่องค์กรกำหนด 
3. บุคลากรมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตัวเอง
4. กระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมและช่วยทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

      หลักการที่ 4 : การบริหารเชิงกระบวนการ (Process approach)

          'ผลลัพธ์ที่ต้องการสามารถบรรลุได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อทรัพยากรและกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นกระบวนการ'
'A desired result is achieved more efficiently when activities and related resources are managed
as a process.'

     การนำหลักการไปประยุกต์ใช้งาน

1. กำหนดกิจกรรมที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ
2. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการกิจกรรมหลักให้ชัดเจน
3. วิเคราะห์และวัดขีดความสามารถของกิจกรรมหลัก
4. แสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมหลัก ทั้งภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานในองค์กร
5. เน้นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงกิจกรรมหลักขององค์กร เช่น ทรัพยากร วิธีการ
6. ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบ ที่มีต่อลูกค้า ผู้ขาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

     ประโยชน์ที่ได

1. ลดค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาในการทำงาน จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
2. ทำให้ผลงานมีความสม่ำเสมอ มีการปรับปรุง และสามารถคาดการณ์ได้
3. สามารถเน้นและจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะปรับปรุง

     หลักการที่ 5 : การบริหารเป็นระบบ (System approach to management)
          
           'การบ่งชี้ การทำความเข้าใจ และการบริหารจัดการในเชิงระบบที่ประกอบด้วยกระบวน
การต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิ
ผลขององค์กร'
          'Identifying, understanding and managing interrelated processes as system contributes to the 
organization's effectiven

 
mai_adisak [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:28
38
อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
 
จักรพันธ์มงคลสำโรง [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:30
39
อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
 
จักรพันธ์มงคลสำโรง [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:30
40
อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
 
จักรพันธ์มงคลสำโรง [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:31
41
อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาอ
นาย อภิชาติ  จันทร์สระน้อย

 
apichat [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:42
42
อ้างอิง

ปาณชัย เฉียงจะโปะ
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า 'บุคคลคุณภาพ' เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

นายปาณชัย เฉียงจะโปะ

 
ปาณชัย เฉียงจะโปะ [202.29.231.xxx] เมื่อ 17/02/2014 11:49
43
อ้างอิง

ไกรวิชญ์ ชินตะขบ

การเพิ่มผลผลิต

 

1.1 ความหมายของการเพิ่มผลผลิตและอัตราผลผลิต

                การเพิ่มผลผลิต หมายถึง การเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่อัตราผลผลิต (Productiveity) จะแตกต่างจากคำว่า ผลผลิต (Product หรือ Production Output) และการผลิต (Production) ดังนั้น คำทั้งสามคำนี้จึงมีความหมายที่ต่างกัน

                ผลผลิต คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือบริการ

                การผลิต คือ กระบวนการทำงานในการผลิตหรือบริการ

                อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนของหน่วยผลผลิตต่อหน่วยกำลังหรือวัสดุที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณหน่วยที่ผลิตได้ต่อหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตนั้นๆ ทรัพยากรที่ใช้รวมถึงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงาน

 

  อัตราผลผลิต (Productiveity)  =   ผลผลิตที่ได้ (Output) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

                ผลผลิตที่ได้ หมายถึง ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต มิใช่ปริมาณการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมและเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่คุณภาพของผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

 

1.2 ประเภทของอัตราผลผลิต

                ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทอัตราผลผลิตเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                1. อัตราผลผลิตย่อย (Partial Productivity) อัตราผลผลิตย่อยเป็นอัตราส่วนของผลผลิตต่อทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละชนิด เช่น อัตราผลผลิตด้านแรงงาน (Labor Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อยด้านแรงงาน อัตราผลผลิตด้านเงินทุน (Capital Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อด้านเงินทุน อัตราผลผลิตด้านวัสดุ (Material Productivity) อัตราผลผลิตด้านพลังงาน (Energy Productivity) อัตราผลผลิตด้านสิ้นเปลือง ( Expense Productivity)

                2. อัตราผลผลิตรวม (Total Productivity) อัตราผลผลิตรวมเป็นอัตราส่วนของผลผลิตทั้งหมดต่อทรัพยากรที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นอัตราผลผลิตรวมจึงแสดงผลกระทบร่วมของทรัพยากรทั้งหมดในการทำผลผลิตออกมา

               3. อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity) อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราส่วนของผลผลิตสุทธิต่อผลรวมของทรัพยากร หรือปัจจัยด้านแรงงานและเงินทุน ผลผลิตสุทธิ หมายถึง ผลผลิตรวมหักออกด้วยสินค้าและบริการระหว่างกระบวนการที่ซื้อ (ตัวส่วนของอัตราส่วนนี้ประกอบด้วยปัจจัยแรงงานและทุนเท่านั้น)

                ในความหมายของอัตราการผลิตทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่ว่าผลผลิตหรือทรัพยากรที่ใช้ (Output & Input) จะใช้คำที่จะเกิดขึ้นจริงในเชิงมูลค่าตามเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในระยะเวลาที่เป็นฐาน (Basic Period) การคำนวณอัตราผลผลิตโดยใช้มูลค่าในปีฐานเป็นเกณฑ์นี้ เรียกว่า การวัดอัตราผลผลิตแบบพลวัต จุดประสงค์ก็เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบอัตราผลผลิตปีหนึ่งไปอีกปีหนึ่งได้

 

ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทผลิตเครื่องคิดเลขรายหนึ่งผลิตเครื่องคิดเลขได้ 10,000 เครื่อง มูลค่า เครื่องละ 250 บาท โดยใช้คนงาน 50 คน ทำงานคนละ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 25 วัน ค่าแรงเฉลี่ยคนละ 20 บาทต่อชั่วโมง ต่อมาเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 12,000 เครื่องโดยใช้คนงานเพิ่มขึ้นอีก 10 คน อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไร

               

ในช่วงแรก ผลผลิต                                                 = 10,000   x  250                           =    2.5    ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  50  x  8  x  25  x  20                   =    0.20  ล้านบาท

                อัตราผผลผลิต (ของแรงงาน)                     =  2.5    / 0.20                               =    12.5

                      

เมื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแล้ว

                ผลผลิต                                               =  12,000 x 250                                =     3.0     ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  60 x 8 x 25 x20                             =     0.24   ล้านบาท

                อัตราผลผลิต (ของแรงงาน)                       =  3.0 / 0.24                                     =      12.5

                                                                              

 

                เห็นได้ชัดว่า ในตัวอย่างนี้ผลผลิตของเครื่องคิดเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (จาก  10,000 เครื่อง เพิ่มเป็น  12,000 เครื่อง ) แต่อัตราผลผลิตของแรงงานไม่เพิ่มขึ้นเลย ทำนองเดียวกันนี้อาจแสดงด้วยการคำนวณได้ว่าในบางกรณี  อัตราผลผลิตลดลงถึงแม้ว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือในกรณีอื่นอัตราผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นตามผลผลิตก็ได้

               นิยามของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ลักษณะนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากกว่าอัตราผลผลิตแบบดั้งเดิม ให้สังเกตว่าเมื่อพูดถึงอัตราผลผลิตย่อย เราคิดถึงอัตราผลผลิตด้านต่างๆ หลายๆด้าน ไม่ใช่ตัวเลขอัตราผลผลิตตัวเดียว อัตราผลผลิตด้านแรงงานซึ่งเป็นตัววัดอัตราผลผลิตที่พบบ่อยกว่าอย่างอื่น เป็นอัตราผลผลิตย่อยชนิดหนึ่ง เนื่องจากแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับทรัพยากรแรงงานอย่างเดียว

                อัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบและข้อจำกัดในการใช้กล่าวคือ อัตราผลผลิตย่อยนั้น เข้าใจง่าย หาข้อมูลง่าย และคำนวณง่าย แต่ควรใช้ร่วมกับอัตราผลผลิตรวมมิฉะนั้นอาจให้ภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ปรับปรุงผลผลิตไม่ถูกจุดก็ได้ สำหรับอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มนั้น หาข้อมูลจากบัญชีของบริษัทได้ค่อนข้างง่ายก็จริงแต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในบริษัทที่มีต้นทุนวัสดุเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม ไม่แสดงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุที่ใช้เลย ส่วนอัตราผลผลิตรวม เป็นตัวที่คำนึงถึงปัจจัยทุกอย่างที่วัดได้ทั้งด้านผลผลิตและทรัพยากรที่ใช้ ดังนี้จึงแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทได้ถูกต้องว่า ทั้งนี้จะต้องมีระบบเก็บข้อมูลที่ออกแบบสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

                จะเห็นได้ว่า การวัดอัตราผลผลิตในระดับบริษัทหรือหน่วยงานควรใช้อัตราผลผลิตย่อยควบคู่ไปกับอัตราผลผลิตรวมจึงจะให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องที่สุด  ตารางที่ 1.1 แสดงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท

 

ตารางที่ 1.1 ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของการใช้อัตราผลผลิต 3 ประเภท

 

ข้อได้เปรียบ

ข้อจำกัด

  • อัตราผลผลิตย่อย
  • 1. เข้าใจง่าย
  • 2. หาข้อมูลง่าย
  • 3. คำนวณง่าย
  • 4. ชักจูงให้ผู้บริหารใช้ได้ง่าย
  • 5. มีข้อมูลสำหรับทั้งอุตสาหกรรม

(เช่น ผลผลิตต่อคน - ชั่วโมง)

 

  • 1. ถ้าใช้เพียงตัวเดียวโดดๆ อาจให้ภาพที่ผิด
  • 2. ใช้ไม่ค่อยได้ในการควบคุมกำไร
  • อัตราผลผลิตรวม
  • 1. ให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องกว่า เพราะคำนึงถึงผลผลิตและทรัพยากรทั้งหมด
  • 2. ใช้ประโยชน์ได้ดีในการควบคุมกำไรโดยฝ่ายบริหารระดับสูง
  • 3. เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนรวม

 

  • 1. ต้องมีระบบเก็บข้อมูลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

 

  • อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม
  • 1. หาข้อมูลค่อนข้างง่าย
  • 2. นิยมใช้อยู่แล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์ในรูปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

 

 

  • 1. ไม่ได้พิจารณาโดยตรงถึงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุ
  • 2. หาข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบได้ค่อนข้างมาก

 

1.3 วิธีการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม

                องค์ประกอบที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมพอสรุปได้ ดังนี้

1. การลงทุน (Investment)

2. อัตราส่วนเงินทุน/แรงงาน (Capital/Labor)

3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

4. การใช้เงินทุน (Capital Utilization)

5. กฎระเบียบแห่งรัฐ (Government Regulation)

6. อายุของโรงงานและเครื่องจักร (Age of Plant & Equipment)

7. ต้นทุนพลังงาน (Energy Cost)

8. การประสมประสานของแรงงาน (Workforce Mix) (แรงงานชำนาญการและแรงงานทั่วไปประสมประสาน)

9. จริยธรรมในงาน (Work Ethic)

10. การบริหารงาน (Management)

11. อิทธิพลของสมาพันธ์แรงงาน (Union's Influence)

12. ความหวั่นเกรงของแรงงานต่อการตกงาน (Work's Fear about Loss of Job)

การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม  ถ้าพิจารณาจากสูตรของอัตราการผลิตที่ใช้อยู่จำเป็นดังนี้

 

อัตราผลผลิต  =   ผลผลิต (Output ) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

เราสามารถทำการเพิ่มผลผลิตจากอัตราผลผลิตที่สูงขึ้นเป็น 5 แนวทาง ดังนี้

  • 1. ผลผลิตเพิ่ม แต่ทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม (Output เพิ่ม Input เท่าเดิม)
  • 2. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output เพิ่ม Input ลดลง)
  • 3. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรสูงขึ้น แต่ใช้อัตราที่ต่ำกว่า (Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า)
  • 4. ผลผลิตคงที่ ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output คงที่ Input ลดลง)
  • 5. ผลผลิตลดลง ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราสูงกว่า (Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า)

การเพิ่มผลผลิตโดยมีการลดต้นทุนการผลิต (ลดส่วนของทรัพยากรที่ใช้) น่าจะเป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ได้ผลสูงสุด ขณะที่การเพิ่มผลผลิตโดยการลดกำลังการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตโดยลดต้นทุนลง (ลดทรัพยากรที่ต้องใช้) ในสัดส่วนที่มากกว่าผลผลิตที่ลดลง เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ไม่น่าจูงใจที่สุด  ปัจจุบันเกิดแนวคิดด้านการลดขนาดองค์กร (Down Sizing)  เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีผู้บริหารขององค์กรบางองค์กรพยายามนำแนวคิดนี้ไปใช้ทั้งๆ ที่องค์กรของตนเป็นองค์กรที่กำลังเติบโต ดังนั้นจะเห็นว่าการนำแนวการคิดการลดขนาดขององค์กรโดยมีผลผลิตเท่าเดิมเป็นไปในลักษณะเพิ่มผลผลิตหรือผลผลิตเท่าเดิมโดยลดต้นทุน (ลดทรัพยากรที่ใช้) ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่อยู่ตัวคือไม่ขยายตัวอีกแล้ว โดยโอกาสขยายตัวทางธุรกิจมีน้อยหรือองค์กรที่มีธุรกิจแบบ Sunset Industry คือ มีลักษณะถดถอยของธุรกิจการนำแนวคดแบบ (Down Sizing) ของธุรกิจลักษณะนี้ย่อมเป็นการเหมาะสมยิ่ง แต่กรณีองค์กรที่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องน่าจะใช้แนวคิดการเพิ่มผลผลิตแบบเพิ่มต้นทุน (เพิ่มทรัพยากรที่ใช้) รูป 1.1 เป็นรูปที่ผู้บริหารน่าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อไป

 

 
 
 

 

 

1. Output เพิ่ม Input เท่าเดิม 

 

 

 
 
 

 

 

   2. Output เพิ่ม Input ลดลง        

 

 

 
 
 

 

 

3. Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า

 

 

                                                                         4. Output คงที่ Input ลดลง          

 

                                                                           5. Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า

 

 

รูปที่ 1.1 รูปแบบแนวทางการเพิ่มผลผลิตโดยอัตราผลผลิตสูงขึ้น

                     

 

                      ตัวอย่างการเพิ่มผลผลิตโดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

                      มูลค่าผลผลิต                                                                   2,000,000 บาท

                      มูลค่าทรัพยากรที่ใช้                                                      1,000,000 บาท

                      ดัชนีอัตราผลผลิต (Productivity Index) = 2,000,000/1,000,000 = 2

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
ไกรวิชญ์ ชินตะขบ [email protected] [202.29.231.xxx] เมื่อ 19/02/2014 14:47
44
อ้างอิง

ไกรวิชญ์ ชินตะขบ

การเพิ่มผลผลิต

 

1.1 ความหมายของการเพิ่มผลผลิตและอัตราผลผลิต

                การเพิ่มผลผลิต หมายถึง การเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่อัตราผลผลิต (Productiveity) จะแตกต่างจากคำว่า ผลผลิต (Product หรือ Production Output) และการผลิต (Production) ดังนั้น คำทั้งสามคำนี้จึงมีความหมายที่ต่างกัน

                ผลผลิต คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือบริการ

                การผลิต คือ กระบวนการทำงานในการผลิตหรือบริการ

                อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนของหน่วยผลผลิตต่อหน่วยกำลังหรือวัสดุที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อัตราผลผลิต คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณหน่วยที่ผลิตได้ต่อหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตนั้นๆ ทรัพยากรที่ใช้รวมถึงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงาน

 

  อัตราผลผลิต (Productiveity)  =   ผลผลิตที่ได้ (Output) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

                ผลผลิตที่ได้ หมายถึง ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต มิใช่ปริมาณการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมและเพิ่มอัตราผลผลิต โดยที่คุณภาพของผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

 

1.2 ประเภทของอัตราผลผลิต

                ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทอัตราผลผลิตเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                1. อัตราผลผลิตย่อย (Partial Productivity) อัตราผลผลิตย่อยเป็นอัตราส่วนของผลผลิตต่อทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละชนิด เช่น อัตราผลผลิตด้านแรงงาน (Labor Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อยด้านแรงงาน อัตราผลผลิตด้านเงินทุน (Capital Productivity) เป็นอัตราผลผลิตย่อด้านเงินทุน อัตราผลผลิตด้านวัสดุ (Material Productivity) อัตราผลผลิตด้านพลังงาน (Energy Productivity) อัตราผลผลิตด้านสิ้นเปลือง ( Expense Productivity)

                2. อัตราผลผลิตรวม (Total Productivity) อัตราผลผลิตรวมเป็นอัตราส่วนของผลผลิตทั้งหมดต่อทรัพยากรที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นอัตราผลผลิตรวมจึงแสดงผลกระทบร่วมของทรัพยากรทั้งหมดในการทำผลผลิตออกมา

               3. อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity) อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราส่วนของผลผลิตสุทธิต่อผลรวมของทรัพยากร หรือปัจจัยด้านแรงงานและเงินทุน ผลผลิตสุทธิ หมายถึง ผลผลิตรวมหักออกด้วยสินค้าและบริการระหว่างกระบวนการที่ซื้อ (ตัวส่วนของอัตราส่วนนี้ประกอบด้วยปัจจัยแรงงานและทุนเท่านั้น)

                ในความหมายของอัตราการผลิตทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่ว่าผลผลิตหรือทรัพยากรที่ใช้ (Output & Input) จะใช้คำที่จะเกิดขึ้นจริงในเชิงมูลค่าตามเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในระยะเวลาที่เป็นฐาน (Basic Period) การคำนวณอัตราผลผลิตโดยใช้มูลค่าในปีฐานเป็นเกณฑ์นี้ เรียกว่า การวัดอัตราผลผลิตแบบพลวัต จุดประสงค์ก็เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบอัตราผลผลิตปีหนึ่งไปอีกปีหนึ่งได้

 

ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทผลิตเครื่องคิดเลขรายหนึ่งผลิตเครื่องคิดเลขได้ 10,000 เครื่อง มูลค่า เครื่องละ 250 บาท โดยใช้คนงาน 50 คน ทำงานคนละ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 25 วัน ค่าแรงเฉลี่ยคนละ 20 บาทต่อชั่วโมง ต่อมาเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 12,000 เครื่องโดยใช้คนงานเพิ่มขึ้นอีก 10 คน อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไร

               

ในช่วงแรก ผลผลิต                                                 = 10,000   x  250                           =    2.5    ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  50  x  8  x  25  x  20                   =    0.20  ล้านบาท

                อัตราผผลผลิต (ของแรงงาน)                     =  2.5    / 0.20                               =    12.5

                      

เมื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแล้ว

                ผลผลิต                                               =  12,000 x 250                                =     3.0     ล้านบาท

                แรงงานที่ใช้                                         =  60 x 8 x 25 x20                             =     0.24   ล้านบาท

                อัตราผลผลิต (ของแรงงาน)                       =  3.0 / 0.24                                     =      12.5

                                                                              

 

                เห็นได้ชัดว่า ในตัวอย่างนี้ผลผลิตของเครื่องคิดเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (จาก  10,000 เครื่อง เพิ่มเป็น  12,000 เครื่อง ) แต่อัตราผลผลิตของแรงงานไม่เพิ่มขึ้นเลย ทำนองเดียวกันนี้อาจแสดงด้วยการคำนวณได้ว่าในบางกรณี  อัตราผลผลิตลดลงถึงแม้ว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือในกรณีอื่นอัตราผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นตามผลผลิตก็ได้

               นิยามของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ลักษณะนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากกว่าอัตราผลผลิตแบบดั้งเดิม ให้สังเกตว่าเมื่อพูดถึงอัตราผลผลิตย่อย เราคิดถึงอัตราผลผลิตด้านต่างๆ หลายๆด้าน ไม่ใช่ตัวเลขอัตราผลผลิตตัวเดียว อัตราผลผลิตด้านแรงงานซึ่งเป็นตัววัดอัตราผลผลิตที่พบบ่อยกว่าอย่างอื่น เป็นอัตราผลผลิตย่อยชนิดหนึ่ง เนื่องจากแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับทรัพยากรแรงงานอย่างเดียว

                อัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบและข้อจำกัดในการใช้กล่าวคือ อัตราผลผลิตย่อยนั้น เข้าใจง่าย หาข้อมูลง่าย และคำนวณง่าย แต่ควรใช้ร่วมกับอัตราผลผลิตรวมมิฉะนั้นอาจให้ภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ปรับปรุงผลผลิตไม่ถูกจุดก็ได้ สำหรับอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่มนั้น หาข้อมูลจากบัญชีของบริษัทได้ค่อนข้างง่ายก็จริงแต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในบริษัทที่มีต้นทุนวัสดุเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากอัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม ไม่แสดงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุที่ใช้เลย ส่วนอัตราผลผลิตรวม เป็นตัวที่คำนึงถึงปัจจัยทุกอย่างที่วัดได้ทั้งด้านผลผลิตและทรัพยากรที่ใช้ ดังนี้จึงแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทได้ถูกต้องว่า ทั้งนี้จะต้องมีระบบเก็บข้อมูลที่ออกแบบสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

                จะเห็นได้ว่า การวัดอัตราผลผลิตในระดับบริษัทหรือหน่วยงานควรใช้อัตราผลผลิตย่อยควบคู่ไปกับอัตราผลผลิตรวมจึงจะให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องที่สุด  ตารางที่ 1.1 แสดงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของอัตราผลผลิตทั้ง 3 ประเภท

 

ตารางที่ 1.1 ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดบางประการของการใช้อัตราผลผลิต 3 ประเภท

 

ข้อได้เปรียบ

ข้อจำกัด

  • อัตราผลผลิตย่อย
  • 1. เข้าใจง่าย
  • 2. หาข้อมูลง่าย
  • 3. คำนวณง่าย
  • 4. ชักจูงให้ผู้บริหารใช้ได้ง่าย
  • 5. มีข้อมูลสำหรับทั้งอุตสาหกรรม

(เช่น ผลผลิตต่อคน - ชั่วโมง)

 

  • 1. ถ้าใช้เพียงตัวเดียวโดดๆ อาจให้ภาพที่ผิด
  • 2. ใช้ไม่ค่อยได้ในการควบคุมกำไร
  • อัตราผลผลิตรวม
  • 1. ให้ภาพที่ชัดเจนถูกต้องกว่า เพราะคำนึงถึงผลผลิตและทรัพยากรทั้งหมด
  • 2. ใช้ประโยชน์ได้ดีในการควบคุมกำไรโดยฝ่ายบริหารระดับสูง
  • 3. เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนรวม

 

  • 1. ต้องมีระบบเก็บข้อมูลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

 

  • อัตราผลผลิตมูลค่าเพิ่ม
  • 1. หาข้อมูลค่อนข้างง่าย
  • 2. นิยมใช้อยู่แล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์ในรูปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

 

 

  • 1. ไม่ได้พิจารณาโดยตรงถึงผลกระทบของทรัพยากรวัสดุ
  • 2. หาข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบได้ค่อนข้างมาก

 

1.3 วิธีการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม

                องค์ประกอบที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมพอสรุปได้ ดังนี้

1. การลงทุน (Investment)

2. อัตราส่วนเงินทุน/แรงงาน (Capital/Labor)

3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

4. การใช้เงินทุน (Capital Utilization)

5. กฎระเบียบแห่งรัฐ (Government Regulation)

6. อายุของโรงงานและเครื่องจักร (Age of Plant & Equipment)

7. ต้นทุนพลังงาน (Energy Cost)

8. การประสมประสานของแรงงาน (Workforce Mix) (แรงงานชำนาญการและแรงงานทั่วไปประสมประสาน)

9. จริยธรรมในงาน (Work Ethic)

10. การบริหารงาน (Management)

11. อิทธิพลของสมาพันธ์แรงงาน (Union's Influence)

12. ความหวั่นเกรงของแรงงานต่อการตกงาน (Work's Fear about Loss of Job)

การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม  ถ้าพิจารณาจากสูตรของอัตราการผลิตที่ใช้อยู่จำเป็นดังนี้

 

อัตราผลผลิต  =   ผลผลิต (Output ) / ทรัพยากรที่ใช้ (Input)

 

เราสามารถทำการเพิ่มผลผลิตจากอัตราผลผลิตที่สูงขึ้นเป็น 5 แนวทาง ดังนี้

  • 1. ผลผลิตเพิ่ม แต่ทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม (Output เพิ่ม Input เท่าเดิม)
  • 2. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output เพิ่ม Input ลดลง)
  • 3. ผลผลิตเพิ่ม ขณะที่ใช้ทรัพยากรสูงขึ้น แต่ใช้อัตราที่ต่ำกว่า (Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า)
  • 4. ผลผลิตคงที่ ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลง (Output คงที่ Input ลดลง)
  • 5. ผลผลิตลดลง ขณะที่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราสูงกว่า (Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า)

การเพิ่มผลผลิตโดยมีการลดต้นทุนการผลิต (ลดส่วนของทรัพยากรที่ใช้) น่าจะเป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ได้ผลสูงสุด ขณะที่การเพิ่มผลผลิตโดยการลดกำลังการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตโดยลดต้นทุนลง (ลดทรัพยากรที่ต้องใช้) ในสัดส่วนที่มากกว่าผลผลิตที่ลดลง เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตที่ไม่น่าจูงใจที่สุด  ปัจจุบันเกิดแนวคิดด้านการลดขนาดองค์กร (Down Sizing)  เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีผู้บริหารขององค์กรบางองค์กรพยายามนำแนวคิดนี้ไปใช้ทั้งๆ ที่องค์กรของตนเป็นองค์กรที่กำลังเติบโต ดังนั้นจะเห็นว่าการนำแนวการคิดการลดขนาดขององค์กรโดยมีผลผลิตเท่าเดิมเป็นไปในลักษณะเพิ่มผลผลิตหรือผลผลิตเท่าเดิมโดยลดต้นทุน (ลดทรัพยากรที่ใช้) ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่อยู่ตัวคือไม่ขยายตัวอีกแล้ว โดยโอกาสขยายตัวทางธุรกิจมีน้อยหรือองค์กรที่มีธุรกิจแบบ Sunset Industry คือ มีลักษณะถดถอยของธุรกิจการนำแนวคดแบบ (Down Sizing) ของธุรกิจลักษณะนี้ย่อมเป็นการเหมาะสมยิ่ง แต่กรณีองค์กรที่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องน่าจะใช้แนวคิดการเพิ่มผลผลิตแบบเพิ่มต้นทุน (เพิ่มทรัพยากรที่ใช้) รูป 1.1 เป็นรูปที่ผู้บริหารน่าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อไป

 

 
 
 

 

 

1. Output เพิ่ม Input เท่าเดิม 

 

 

 
 
 

 

 

   2. Output เพิ่ม Input ลดลง        

 

 

 
 
 

 

 

3. Output เพิ่ม Input เพิ่มน้อยกว่า

 

 

                                                                         4. Output คงที่ Input ลดลง          

 

                                                                           5. Output ลดลง Input ลดลงมากกว่า

 

 

รูปที่ 1.1 รูปแบบแนวทางการเพิ่มผลผลิตโดยอัตราผลผลิตสูงขึ้น

                     

 

                      ตัวอย่างการเพิ่มผลผลิตโดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

                      มูลค่าผลผลิต                                                                   2,000,000 บาท

                      มูลค่าทรัพยากรที่ใช้                                                      1,000,000 บาท

                      ดัชนีอัตราผลผลิต (Productivity Index) = 2,000,000/1,000,000 = 2

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
ไกรวิชญ์ ชินตะขบ [email protected] [202.29.231.xxx] เมื่อ 19/02/2014 14:47
45
อ้างอิง

Mr Harvard
สวัสดี
คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วนของชนิดใด? เงินให้กู้ยืมเพื่อล้างหนี้หรือคุณจำเป็นต้องกู้เงินทุนของคุณ
เพื่อปรับปรุงธุรกิจของคุณ
คุณได้รับการปฏิเสธจาก
ธนาคารและหน่วยงานทางการเงินอื่น ๆ ?
คุณต้องการเงินกู้รวมหรือการจำนองหรือไม่?
ค้นหาไม่มากในขณะที่เราอยู่ที่นี่เพื่อให้ทุกปัญหาทางการเงินของคุณสิ่งที่
ที่ผ่านมา เรากู้เงินออกมาให้กับประชาชน
ในความต้องการของความช่วยเหลือทางการเงินที่มีเครดิตไม่ดีหรืออยู่ในความต้องการของเงิน
เพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการลงทุนในธุรกิจที่มีอัตราที่เหมาะสม 2% ผมขอใช้นี้
ขนาดกลางที่จะแจ้งให้ทราบว่าเราให้ความช่วยเหลือที่เชื่อถือได้และได้รับผลประโยชน์และเรา
จะยินดีที่จะให้คุณกู้เงิน ดังนั้นติดต่อเราวันนี้ผ่านทางอีเมล์:
[email protected]

กรุณากรอกข้อมูลของคุณในรูปแบบด้านล่าง:

 1) ชื่อเต็ม: .............................. ............... ..........
 2) ประเทศ: .............................. ................ .............
 3) ที่อยู่: .............................. ................ ............
 4) รัฐ: .............................. ................ .............. ..
 5) เพศ: .............................. ................ .............. ....
 6) สถานภาพ: .............................. ............... ....
 7) อาชีพ: .............................. ................ .......
 8) เบอร์โทรศัพท์: .............................. ............... ...
 9) ตำแหน่งในปัจจุบันสถานที่ทำงาน: .....................
 10) รายได้รายเดือน: .............................. ...............
 11) วงเงินกู้ที่จำเป็น: .............................. .......
 12) เงินกู้ระยะเวลา: .............................. ............... ...
 13) วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม .............................. ..............
 14) ศาสนา: .............................. ................ ..........
 15) คุณได้นำไปใช้ก่อนที่จะ ............................. ....

ผมรอคอยการตอบสนองที่รวดเร็วของคุณเร็ว ๆ นี้

ขอบคุณ
Mr. Smith
 
Mr Harvard [email protected] [41.206.11.xxx] เมื่อ 13/08/2015 08:54
46
อ้างอิง

Mr Harvard
สวัสดี
คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วนของชนิดใด? เงินให้กู้ยืมเพื่อล้างหนี้หรือคุณจำเป็นต้องกู้เงินทุนของคุณ
เพื่อปรับปรุงธุรกิจของคุณ
คุณได้รับการปฏิเสธจาก
ธนาคารและหน่วยงานทางการเงินอื่น ๆ ?
คุณต้องการเงินกู้รวมหรือการจำนองหรือไม่?
ค้นหาไม่มากในขณะที่เราอยู่ที่นี่เพื่อให้ทุกปัญหาทางการเงินของคุณสิ่งที่
ที่ผ่านมา เรากู้เงินออกมาให้กับประชาชน
ในความต้องการของความช่วยเหลือทางการเงินที่มีเครดิตไม่ดีหรืออยู่ในความต้องการของเงิน
เพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการลงทุนในธุรกิจที่มีอัตราที่เหมาะสม 2% ผมขอใช้นี้
ขนาดกลางที่จะแจ้งให้ทราบว่าเราให้ความช่วยเหลือที่เชื่อถือได้และได้รับผลประโยชน์และเรา
จะยินดีที่จะให้คุณกู้เงิน ดังนั้นติดต่อเราวันนี้ผ่านทางอีเมล์:
[email protected]

กรุณากรอกข้อมูลของคุณในรูปแบบด้านล่าง:

 1) ชื่อเต็ม: .............................. ............... ..........
 2) ประเทศ: .............................. ................ .............
 3) ที่อยู่: .............................. ................ ............
 4) รัฐ: .............................. ................ .............. ..
 5) เพศ: .............................. ................ .............. ....
 6) สถานภาพ: .............................. ............... ....
 7) อาชีพ: .............................. ................ .......
 8) เบอร์โทรศัพท์: .............................. ............... ...
 9) ตำแหน่งในปัจจุบันสถานที่ทำงาน: .....................
 10) รายได้รายเดือน: .............................. ...............
 11) วงเงินกู้ที่จำเป็น: .............................. .......
 12) เงินกู้ระยะเวลา: .............................. ............... ...
 13) วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม .............................. ..............
 14) ศาสนา: .............................. ................ ..........
 15) คุณได้นำไปใช้ก่อนที่จะ ............................. ....

ผมรอคอยการตอบสนองที่รวดเร็วของคุณเร็ว ๆ นี้

ขอบคุณ
Mr. Smith
 
Mr Harvard [email protected] [41.206.11.xxx] เมื่อ 13/08/2015 08:54
12
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :